1. ฟื้นสภาพต้น - ใบ หลังเก็บเกี่ยว
หลังเก็บเกี่ยวผลผลิต ควรตัดแต่งกิ่งลำไย เป็นการจัดการต้น ตัดกิ่งเสีย กิ่งทำมุมไม่ดี เพื่อที่ทุกยอดได้รับแสงอย่างเต็มที่และสังเคราะห์แสงอย่างมีประสิทธิภาพ
การเตรียมต้นลำไยให้คืนสู่สภาพสมบูรณ์ ด้วยการบำรุงหลังเก็บเกี่ยว เป็นประตูสู่ความสำเร็จในการทำดอก ติดผลในฤดูต่อไป ยิ่งฟื้นต้นได้เร็ว ลดอาการต้นโทรม รากตาย การราดสารเพื่อทำดอกก็จะเพิ่มขึ้น ไม่ต้องพักต้นข้ามปี
คำแนะนำ
- ฉีดทางใบ แมมมอท คอมบิ อัตรา 200 ซีซี ร่วมกับ เลโอ อัตรา 200 ซีซี ร่วมกับ อมฤต อัตรา 200 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร ให้ทั่วทรงพุ่มหลังเก็บเกี่ยว 2-3 ครั้ง ก่อนแตกใบอ่อน
- ทางดิน ใส่ปุ๋ย 16-16-16 อัตราใช้ 1-2 กก. ต่อต้น และให้หว่าน ฟุลเฮ้าส์ อัตรา 100-300 กรัม ต่อต้น เพื่อรากการแตกรากฝอยใหม่
2. ทำใบอ่อนชุดแรก
ใบอ่อนชุดแรกได้ชื่อว่า “ใบแห่งชีวิตใหม่ ” เพราะเป็นชุดที่ใช้เพื่อสังเคราะห์แสง เลี้ยงส่วนต่างๆของต้นลำไย
การมีใบอ่อนชุดแรกที่พร้อมกัน ส่งผลให้ใบชุดที่ 2 และดอก ออกพร้อมกันด้วย ระยะเวลาทำใบชุดแรกให้แก่จัด มีเวลา 60 วัน ในการสังเคราะห์สารสีเขียว เน้นการบำรุงให้ใบเขียวเข้ม ใบหนา สู่แดด
คำแนะนำ
- ดึงใบชุดแรกให้ออกพร้อมกัน ด้วย เลโอ อัตรา 300 ซีซี ร่วมกับ แมมมอท ชูก้าร์ เอ็กซ์เพรส อัตรา 200 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร
- เร่งใบเขียวหนา ด้วย แมมมอท แคลเซียม แม็กนีเซียม อัตรา 200 ซีซี ร่วมกับ เลโอ อัตรา 300 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร
3. ทำใบอ่อนชุดสอง
ใบชุดสองเป็นใบแห่งการเตรียมความพร้อมในการสังเคราะห์แสง เพื่อเลี้ยงต้น สร้างดอก เมื่อใบชุดแรกเริ่มเขียวเข้มให้ฉีดธาตุอาหารดึงใบชุดสอง ให้ทั่วทรงพุ่มทุก 7-10 วัน จนเข้าใบเพสลาด
คำแนะนำ
- ดึงใบชุดสองให้ออกพร้อมกัน ด้วย เลโอ อัตรา 300 ซีซี ร่วมกับ แมมมอท ชูก้าร์ เอ็กซ์เพรส อัตรา 200 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร
4. สะสมอาหาร
ระยะสะสมอาหาร เป็นใบเพสลาด เป็นระยะสุดท้ายก่อนรับสาร เพื่อทำดอก ต้องสะสมใบให้สมบูรณ์เขียวเข้ม
การสะสมเตรียมพร้อม
- ทางดิน ให้ปุ๋ย 8-24-24 เพื่อสะสมอาหารทางดิน รากเดินดี
- ทางใบ ฉีดด้วย แมมมอทสุพรีม 0-28-18 เพื่อลดไนโตรเจนในการสร้างใบใหม่ สะสมน้ำตาลเพื่อสร้างดอก ร่วมกับ แมมมอท แคลเซียม แมกนีเซียม ช่วยสร้างเม็ดสี ใบสมบูรณ์
ถ้าหากเกิดลัดใบอ่อน ต้องเร่งใบให้แก่เร็วที่สุดด้วย แมมมอท สุพรีม 0-24-24 ร่วมกับ แมมมอท ฮอลท์ เพื่อได้ใบที่พร้อมกัน
5.หลักการราดสาร
ปริมาณสารเมื่อละลายน้ำต้องเหมาะสมกับขนาดทรงพุ่มและอายุต้น เพราะถ้าราดสารตอนดินแห้ง การกระจายสารจะไม่ทั่วถึง
ปัญหาและอุปสรรคในการราดสาร
- การคำนวนใช้สารคลอเรตต่อต้นน้อยเกินไป จำนวนสารตกต่อต้นจึงไม่เพียงพอ
- ดินแห้ง รดน้ำน้อย สารจะกระจายตัวไม่ทั่วต้น
- ใบสะสมอาหารไม่พอ แล้วเจอฝนทำให้ ไนโตรเจนสูง เกิดใบปนดอก หรือมีใบก่อนมีดอก
การราดสารโซเดียม
ลำไย 3-4 ปี
- ไม่เคยราดสาร ใช้อัตรา 500 กรัมต่อต้น
- เคยราดสาร ใช้อัตรา 1 กิโลกรัม ต่อต้น
ตัวอย่าง
สาร 50 กิโลกรัม ผสมน้ำ 1,000 ลิตร ใช้ราดได้ 50 ต้น จะได้สารตก 1 กิโลกรัมต่อต้น
6. การดึงดอก
หลังจากที่ได้มีการราดสารไปแล้ว ประมาณ 20-30 วัน เมื่อใบแก่นิ่งดีแล้วในทุกยอด จึงทำการดึงดอก เป็นการกระตุ้นให้จุดเจริญที่ปลายยิดแทงช่อดอกออกมา
ถ้าเกิดสภาพอากาศที่มีการเปลี่ยนแปลงบ่อย ฝนตก ทำให้เกิดปัญหาการแทงใบอ่อน ก่อนดอก หรือ เกิดดอกปนใบ เราต้องเร่งทำการแก้ไข โดยกดไนโตรเจน เร่งใบให้แก่เร็ว และเสริมน้ำตาลมากกว่าไนโตรเจนทำให้ช่อดอกออกมากกว่าเป็นใบ
คำแนะนำ
- การดึงดอกใช้ แมมมอท ชูก้าร์ เอ็กซ์ อัตรา 200 ซีซี ร่วมกับ แมมมอท ฟองดู อัตรา 200 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร
- แมมมอท ฮอลท์(กดยอด) อัตราใช้ 200 ซีซี ร่วมกับ ร่วมกับ แมมมอท ชูก้าร์ เอ็กซ์เพรส (เพื่อเพิ่มน้ำตาล) อัตราใช้ 200 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่ว 1-2 ครั้ง
7. การบำรุงดอก
ในระยะที่ดอกลำไยกำลังเริ่มบาน ดอกลำไยจะสั่งกลิ่นหอมมาก ต้องดูแลอย่างจริงจัง เพราะช่วงนี้หากบำรุงไม่เพียงพอ จะทำให้ดอกหลุดร่วงได้ง่าย
ทางดินควรใช้ฮิวมัส ผสมน้ำราด ตามรอยที่ราดสาร เพื่อทำการล้างสาร โดยใช้ ฟูลเฮ้าส์ อัตรา 200-300 กรัม ต่อต้น
ทางใบ ควรใช้แมมมอท โพลิไซม์ จีเอ อัตรา 200 ซีซี ร่วมกับ แมมมอท ชูก้าร์ เอ็กซ์เพรส อัตรา 200 ซีซี ร่วมกับ แมมมอท แคลเซียม โบรอน อัตรา 200 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร ช่วยผสมเกสรและลดการหลุดร่วงของดอก ฉีดพ่นทุก 7-10 วัน จนกว่าดอกจะโรย
8. ติดลูก ขึ้นเม็ด
ลำไยระยะติดลูก ขึ้นเม็ด เป็นระยะที่มีการพัฒนาผลอย่างรวดเร็ว เปลืองขยาย สร้างเนื่อ การไว้ผลที่เหมาะสมต่อช่อ อยู่ที่ 30 – 35 ผล จำนวนผลไม่ควรเกินกำลังใบ หากมีผลมาก จะทำให้ผลโตช้า ขนาดไม่เสมอกัน ผลแตกได้
คำแนะนำควรบำรุงด้วย
- แมมมอท แคลเซียม โบรอน ช่วยเรื่องขั่วเหนียว สร้างเปลือก อัตรา 200 ซีซี ร่วมกับ
- แมมมอท โพลิไซม์ จีเอ ขยายท่อน้ำ ท่ออาหาร ให้ลำไยรับสารได้เต็มที่ ผลโลเสมอกัน อัตรา 200 ซีซี ร่วมกับ
- เออร์โกสติม เป็นตัวช่วยช่วงสภาพอากาศแปรปรวน ลดการหลุดร่วงของผลอ่อนช่วงฝนตกหนัก หรือแดดแรง อัตรา 50 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร
9. ขยายลูก
ระยะนี้สำคัญมากเช่นกัน เพราะเป็นการบำรุงให้ลำไยขยายลูกและผลใหญ่สม่ำเสมอ เนื้อแน่นหวานกรอบ คุณภาพเยี่ยม โดยการบำรุงช่วงนี้คือ ห้ามขาดน้ำเด็ดขาด เพราะจะทำให้ลูกเล็ก และหลุดร่วงได้ง่าย บำรุงธาตุอาหารสร้างเปลือก สร้างเนื้อ
คำแนะนำ
- แมมมอท แคลเซียม โบรอน ช่วยเรื่องขั่วเหนียว สร้างเปลือก อัตรา 200 ซีซี ร่วมกับ
- แมมมอท โพลิไซม์ จีเอ ขยายท่อน้ำ ท่ออาหาร ให้ลำไยรับสารได้เต็มที่ ผลโลเสมอกัน อัตรา 200 ซีซี ร่วมกับ อั้ม ช่วยขยายลูก สร้างรสหวาน อัตรา 300 กรัม ต่อน้ำ 200 ลิตร