1. ฟื้นสภาพต้น - สร้างใบใหม่
หลังเก็บเกี่ยวผลผลิต ควรตัดแต่งกิ่งลำไย เป็นการจัดการต้น ตัดกิ่งเสีย กิ่งทำมุมไม่ดี เพื่อที่ทุกยอดได้รับแสงอย่างเต็มที่และสังเคราะห์แสงอย่างมีประสิทธิภาพ
การเตรียมต้นลำไยให้คืนสู่สภาพสมบูรณ์ ด้วยการบำรุงหลังเก็บเกี่ยว เป็นประตูสู่ความสำเร็จในการทำดอก ติดผลในฤดูต่อไป ยิ่งฟื้นต้นได้เร็ว ลดอาการต้นโทรม รากตาย การราดสารเพื่อทำดอกก็จะเพิ่มขึ้น ไม่ต้องพักต้นข้ามปี
คำแนะนำ
- ฉีดทางใบ แมมมอท คอมบิ อัตรา 200 ซีซี ร่วมกับ เลโอ อัตรา 200 ซีซี ร่วมกับ อมฤต อัตรา 200 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร ให้ทั่วทรงพุ่มหลังเก็บเกี่ยว 2-3 ครั้ง ก่อนแตกใบอ่อน
- ทางดิน ใส่ปุ๋ย 16-16-16 อัตราใช้ 1-2 กก. ต่อต้น และให้หว่าน ฟุลเฮ้าส์ อัตรา 100-300 กรัม ต่อต้น เพื่อรากการแตกรากฝอยใหม่
2. บ่มใบสะสมอาหาร
ใบอ่อนชุดแรกได้ชื่อว่า “ใบแห่งชีวิตใหม่ ” เพราะเป็นชุดที่ใช้เพื่อสังเคราะห์แสง เลี้ยงส่วนต่างๆของต้นลำไย
การมีใบอ่อนชุดแรกที่พร้อมกัน ส่งผลให้ใบชุดที่ 2 และดอก ออกพร้อมกันด้วย ระยะเวลาทำใบชุดแรกให้แก่จัด มีเวลา 60 วัน ในการสังเคราะห์สารสีเขียว เน้นการบำรุงให้ใบเขียวเข้ม ใบหนา สู่แดด
คำแนะนำ
- ดึงใบชุดแรกให้ออกพร้อมกัน ด้วย เลโอ อัตรา 300 ซีซี ร่วมกับ แมมมอท ชูก้าร์ เอ็กซ์เพรส อัตรา 200 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร
- เร่งใบเขียวหนา ด้วย แมมมอท แคลเซียม แม็กนีเซียม อัตรา 200 ซีซี ร่วมกับ เลโอ อัตรา 300 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร
3. ดึงดอก
ใบชุดสองเป็นใบแห่งการเตรียมความพร้อมในการสังเคราะห์แสง เพื่อเลี้ยงต้น สร้างดอก เมื่อใบชุดแรกเริ่มเขียวเข้มให้ฉีดธาตุอาหารดึงใบชุดสอง ให้ทั่วทรงพุ่มทุก 7-10 วัน จนเข้าใบเพสลาด
คำแนะนำ
- ดึงใบชุดสองให้ออกพร้อมกัน ด้วย เลโอ อัตรา 300 ซีซี ร่วมกับ แมมมอท ชูก้าร์ เอ็กซ์เพรส อัตรา 200 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร
4. บำรุงผลอ่อน ขยายผลใหญ่
ระยะสะสมอาหาร เป็นใบเพสลาด เป็นระยะสุดท้ายก่อนรับสาร เพื่อทำดอก ต้องสะสมใบให้สมบูรณ์เขียวเข้ม
การสะสมเตรียมพร้อม
- ทางดิน ให้ปุ๋ย 8-24-24 เพื่อสะสมอาหารทางดิน รากเดินดี
- ทางใบ ฉีดด้วย แมมมอทสุพรีม 0-28-18 เพื่อลดไนโตรเจนในการสร้างใบใหม่ สะสมน้ำตาลเพื่อสร้างดอก ร่วมกับ แมมมอท แคลเซียม แมกนีเซียม ช่วยสร้างเม็ดสี ใบสมบูรณ์
ถ้าหากเกิดลัดใบอ่อน ต้องเร่งใบให้แก่เร็วที่สุดด้วย แมมมอท สุพรีม 0-24-24 ร่วมกับ แมมมอท ฮอลท์ เพื่อได้ใบที่พร้อมกัน