1. ฟื้นสภาพต้น แต่งกิ่งหลังเก็บเกี่ยว
การฟื้นต้นเป็นพื้นฐานสำคัญ ในการสร้างดอก หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตเสร็จแล้ว ควรตัดแต่งกิ่งมะม่วงเป็นการจัดการต้น เพื่อสร้างใบใหม่ให้สังเคราะห์แสง สะสมอาหาร ได้ดีขึ้น
คำแนะนำ
- ฉีดพ่นทางใบด้วย แมมมอท ฟองดู อัตรา 200 ซีซี ร่วมกับ แมมมอท คอมบิ อัตรา 200 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร
- ทางดิน หว่านด้วย ฟูลเฮ้าร์ อัตรา 10-50 กรัม ต่อต้น
2. ชุดทำใบและราดสาร
หลังจากฟื้นต้นเสร็จ มะม่วงแตกใบอ่อนเสมอกันดีแล้ว ให้สะสมอาหารทำไบให้ได้สองชุด ซึ่งใบต้องแก่พร้อมกัน ไม่มีใบอ่อนไหล ก่อนการราดสาร เพื่อจะได้ดอกที่พร้อมกันทั้งสวน
การราดสารเพื่อให้มะม่วงออกดอกสม่ำเสมอ ออกช่อพร้อมกัน เมื่อใบแก่พร้อมกันทั้งสวนก็จะ
สามารถเปิดตาดอกได้
การเตรียมต้นทำใบมาดีจะได้ดอก 70 ถึง 80% ถ้าเจอฝนจะทำให้ดอกออกไม่เยอะก็ต้องฉี่สะสมอาหารใหม่
คำแนะนำ
- ฉีดพ่นด้วย แมมมอท ฟองดู อัตรา 200ซีซี + แมมมอท ชูก้าร์ เอ็กซ์เพรส อัตรา 200 ซีซี + แมมมอท คอมบิ อัตรา 200 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร
- ใช้ ปาโก้ (สารแพคโคบิวทราโซล) ผสมน้ำราดตามขนาดทรงพุ่ม อัตรา 10 กรัม ต่อตารางเมตร
- ทางดิน หว่านด้วย โกรกรีน 24-10-10 อัตรา 300-500 กรัม/ต้น
3. สะสมอาหาร
หลังจากราดสาร แล้ว ต้องสะสมอาหารสร้างตาดอก เป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดเป็นการสะสมอาหารที่ใบให้แก่เขียวเข้ม มากที่สุด ก่อนดึงดอก เพื่อให้ มะม่วงออกดอกพร้อมกัน ใบพร้อมสภาพอากาศพร้อมไม่มีฝนชุกก็จะเปิดตาดอกได้
คำแนะนำ
- ฉีดพ่นด้วย เฟอร์ติแพลนท์ 3-15-35 อัตรา 300 กรัม + แมมมอท แคลเซียม แม็กนีเซียม อัตรา 200 ซีซี + แมมมอทสุพรีม 0-28-18 อัตรา 200 ซีซี + แมมมอท ชูก้าร์ เอ็กซ์เพรส อัตรา 200 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร (ฉีดพ่นทางใบเพื่อสร้างน้ำตาล กดไนโตรเจนเตรียมเปิดตาดอก)
4. ดึงดอก
ระยะเดือยไก่ เป็นระยะของการออกดอก ให้สังเกตุเห็นตาดอก บิดเหมือนเดือยไก่ ถ้ายอดแต่ง ออกมาเป็นทรงหอกหรือตั้งชู นั่นคือ อาการแตกใบอ่อน ไม่ใช่ดอก ช่วงช่อดอกต้องดูแลเต็มที่ ช่อดอกตัองการอาหารมาก เน้นธาตุอาหารทางใบ ด้วยแคลเซียมโบรอน ร่วมกับ สาหร่าย และ แมกนีเซียม ช่วยติดผลได้ดีขึ้น
คำแนะนำ
- ใช้ แมมมอท แคลเซียม โบรอน อัตรา 200 ซีซี + แมมมอท โฟลิไซม์ จีเอ อัตรา 200 ซีซี + แมมมอท ชูก้าร์ เอ็กซ์เพรส อัตรา 200 ซีซี + อมฤต อัตรา 200 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร
5. ระยะหัวแม่โป้ง -เก็บเกี่ยวผลโต ผิวสวย
เมื่อผลมะม่วงมีขนาดเท่าหัวแม่โป่ง ควรเสริมด้วย แมมมอท โฟลิไซม์ จีเอ เพื่อขยายท่อน้ำ ท่ออาหาร สร้างเนื้อ เพิ่มน้ำหนัก ลดการเน่าปลายผล ด้วย แมมมอท แคลเซียม โบรอน และอัพไซส์ขยายผลด้วย
มะม่วงใกล้เก็บเกี่ยว ควรลดระดับไนโตรเจน ที่ตกค้างผล เพื่อตอนที่นำไปบ่มให้ได้คุณภาพดี โดยใช้ แคลเซียม. โบรอน ฉีดที่ใบ มะม่วงที่ห่อจะได้รับธาตุอาหารจากใบ สามารถใช้กับมะม่วงที่กินผลดิบและน้ำดอกไม้
คำแนะนำ
ใช้ แมมมอท แคลเซียม โบรอน อัตรา 200 ซีซี + แมมมอท โฟลิไซม์ อัตรา 200 ซีซี + อั้ม อัพไซส์ อัตรา 200 กรัม + อมฤต อัตรา 200 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร