1. ทุเรียนต้นเล็ก
ทุเรียนที่ปลูกใหม่ การสร้างรากและใบ ยังไม่พร้อมกันทั้งสวน เพราะแต่ละต้นมีกำลังไม่เท่ากัน ประกอบกับสภาพดินที่ไม่สม่ำเสมอของเนื้อดิน การระบายน้ำระบายอากาศที่ไม่ดีเท่ากัน เพราะหน้าดินมีน้อยสร้างหน้าดินไม่ทันกับรากใหม่ที่เกิด
การยกโคนต้นทุเรียนให้สูง เพื่อป้องกันโรครากเน่าโคนเน่า และการทำดอกได้ง่าย เมื่อต้นอายุได้ 5 ปี
การทำใบให้เป็นชุดพร้อมๆกันในต้นและทั้งแปลง จะทำให้ต้นทุเรียนโตได้ดี สามารถคุมการระบาดของแมลงได้มีประสิทธิภาพในระยะใบอ่อนทั้งเพลี้ยไฟเพลี้ยไก่แจ้
คำแนะนำ
- บำรุงทางใบ และป้องกันแมลง
แมมมอท ฟองดู 20 ซีซี.+ แมมมอท คอมบิ 20 ซีซี.+ไพเรท็อกซ์ 20 ซีซี.+ราดาซิม 20 ซีซี.ผสมน้ำ20ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วทั้งต้น 2 ครั้งห่างกัน 10 วัน - ทางดิน
ฟูลเฮ้าส์ 4 ช้อนแกงต่อต้น กับ ยูท่า10 4 ช้อนแกงต่อต้น) ใส่ปุ๋ยทางดินเป็นสูตร 16-16-16ครับ
2. ฟื้นต้นทุเรียน
การฟื้นต้นทุเรียนหลังเก็บเกี่ยว ควรสร้างใบให้ได้อย่างน้อย 2 ชุด เพื่อให้ใบเป็นครัวสร้างอาหาร สร้างราก เลี้ยงต้นต่อไป จากนั้นสร้างใบชุดที่ 3 เพื่อให้ต้นทำการรับสารบังคับการออกดอก เกิดลัดใบอ่อนน้อยลงครับ
ปัญหาที่มักพบในการฟื้นต้นทุเรียน
- สร้างใบชุดแรกออกมาไม่ดี ใบเล็ก จำนวนน้อย
- การแตกใบอ่อนไม่พร้อมกัน
- ใบที่ออกมาบาง ใบเหลืองไม่เขียวเข้ม
- ระบบรากเสีย เนื่องจากสารแพคโคบิวทราโซล
คำแนะนำ
- แมมมอท ฟองดู อัตรา 200 ซีซี + แมมมอท คอมบิ อัตรา 200 ซีซี + กรดจิบเบอเรลลิก อัตรา 50 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร
- ทางดินใช้ เปอร์ก้า อัตรา 1 กก. / ต้น + ฟลูเฮ้าส์ อัตรา 300-500 กรัม / ต้น
3. สะสมอาหาร
การบำรุงใบให้สมบูรณ์ถือเป็นสิ่งสำคัญ ใบที่ได้รับสารบังคับการออกดอก ต้องสะสมใบให้เขียวสมบูรณ์ ควบคุมให้ใบแก่จัดคงที่พร้อมกันทั้งต้น เพื่อการสร้างตาดอกและดอกเป็นรุ่นเดียวกัน
ตาดอกที่ออกมาแล้ว เมื่อเจอฝนกระแทกหนักๆ อาจเกิดดอกฝ่อได้ สาเหตุมาจากใบที่สะสมอาหารได้ไม่ดี ไม่พอใช้ ทำให้เกิดรัดใบหรือมีใบอ่อนเพิ่มตามมา การคุมใบอ่อนให้แก่รอบพร้อมกันจึงสำคัญเพื่อการมีดอกในเวลาที่ต้องการ
คำแนะนำ
ฉีดพ่น โกรกรีน 10-52-10 อัตรา 500 กรัม + แมมมอท สุพรีม 0-28-18 อัตรา 200 ซีซี + แมมมอท แคลเซียม แม็กนีเซียม อัตรา 200 ซีซี + แมมมอท โฟลิไซม์ จีเอ อัตรา 200 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร
4. เปิดตาดอก
ระยะเปิดตาดอก ให้สังเกตุการมีตาดอกโผล่ออกมา สวนที่มีการสะสมอาหารที่ใบได้สมบูรณ์ ไม่มีใบอ่อนไหลมาก ตาดอกจะออกมาพร้อมกัน หากมีใบอ่อนระยะนี้จะทำให้สูญเสียตาดอก เกิดดอกแดงหรือดอกฝ่อได้
เนื่องจากใบอ่อนแย่งอาหารตาดอกไปหมด ให้ฉีดเปิดตาดอก ไม่ให้ขาดอะมิโนและน้ำตาล ตาดอกจะใสไม่ฝ่อพัฒนาการดี ดอกจะแน่นพอที่เลือกแต่งได้ตามต้องการ
คำแนะนำ
- ฉีดพ่น แมมมอท ฟองดู อัตรา 200 ซีซี + แมมมอท ชูก้าร์ เอ็กเพรส อัตรา 200 ซีซี + อมฤต อัตรา 200 ซีซี + กรดจิบเบอเรลลิก อัตรา 50 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร
- ทางใบ ยูท่า 10 อัตรา 300-400 กรัม / ต้น + เปอร์ก้า อัตรา 1 กก. / ต้น
5. บำรุงดอก-หางแย้
ระยะหลังดอกบานจนอายุได้ 30 วัน เป็นระยะที่อ่อนไหวง่าย มีการหลุดร่วงมาก เนื่องจากธาตุอาหารไม่พอ หรือเกิดการลัดใบอ่อน ต้องดูแลการจัดการเรื่องน้ำ การแต่งดอก และฉีดพ่นสารอาหารที่ดอกและหางแย้ หากมีการลัดใบอ่อนในระยะนี้ ต้องเร่งใบอ่อน ให้เร็วที่สุด เพราะใบอ่อนจะแย่งอาหาร จนดอกหลุดร่วงมากขึ้นได้
เพื่อการพัฒนาดอกให้เป็นชุดเดียวกันและมากเพียงพอ ควรตัดแต่งช่อดอกให้เหมาะสมเพียงพอกับจำนวนกิ่งและขนาดต้น
คำแนะนำ
- ฉีดพ่นทางใบ แมมมอท โฟลิไซม์ จีเอ อัตรา 200 ซีซี + แมมมอท ชูการ์ เอ็กเพรส อัตรา 200 ซีซี + อมฤต อัตรา 200 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร
- ทางดิน ยูท่า 10 อัตรา 300-400 กรัม / ต้น + เปอร์ก้า อัตรา 1 กก. / ต้น
6. ผลอ่อน - เก็บเกี่ยว
ระยะผลอ่อนกำลังสร้างเมล็ด ( อายุผล 45-90 วันหลังบานดอก) เน้นการบำรุง ทรงผลไม่ให้บิดงอ ขนาดผลเท่ากัน และเปลือกแข็งแรง แมมมอท แคลเซียมแม็กนีเซียม อัตรา 200 ซีซี ร่วมกับ แมมมอท โฟลิไซม์ จีเอ อัตรา 200 ซีซี ร่วมกับ แมมมอท ชูก้าเอ็กซ์เพลส อัตรา 200 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร ควรฉีกพ่นทุก ๆ 10 วัน
ระยะการสร้างเนื้อขยายขนาดผล 90 วัน (หลังบานดอก) เป็นระยะที่ต้องเร่งการสังเคราะห์แสงของใบให้ได้น้ำตาลมากๆ เพื่อส่งมาสะสมที่ผลเปลี่ยนเป็นแป้งในเนื้อทุเรียน มีน้ำหนักและเนื้อแป้งมากพอ การสร้างเนื้อเพิ่มขนาดผลต้องใช้ อั้ม พร้อมกับชุดบำรุงผลจึงจะได้เนื้อที่มีเปอร์เซ็นต์แป้งสูง คุณภาพดี
คำแนะนำ
- ฉีดพ่นทางใบ แมมมอท โฟลิไซม์ จีเอ อัตรา 200 ซีซี + แมมมอท ชูก้าร์ เอ็กซ์เพรส อัตรา 200 ซีซี + แมมมอท แคลเซียม โบรอน อัตรา 200 ซีซี + อั้ม อัพไซส์ อัตรา 200 กรัม ต่อน้ำ 200 ลิตร
- ทางดิน ยูท่า 10 อัตรา 200 กรัม + เปอร์ก้า อัตรา 1 กก. / ต้น