1. ระยะการปลูกทุเรียน

ระยะการปลูกทุเรียนที่เหมะสมนั้นขึ้นอยู่กับสภาพทางภูมิศาสตร์ของพื้นที่ที่จะปลูกควรปลูกไม่ห่างและไม่ถี่จนเกินไปหากวางแผนการปลูกที่เป็นระเบียบเราจะจัดการวางแผนได้ง่ายและสะดวกในการทำงานทุเรียนเป็นไม้ผลยืนต้นที่สูงจากพื้นเพื่อที่ใบจะยืดออกไปหาแสงได้เพียงพอในการสังเคราะห์แสง

พื้นที่ราก คือ เนื้อดินที่ดี มีหน้าดินเพียงพอให้รากได้ใช้ในการดูดซับอาหาร ปุ๋ย และน้ำ ซึ่งการปลูกชิดกันเกินไปจะทำให้เกิดการแย่งธาตุอาหารปุ๋ยและน้ำร่วมถึงการยกโคนที่สูงหรือแคบมีเนื้อดินให้รากแผ่น้อยมักจะเกิดรากแห้งรากตาย(ถ้าสังเกตจะเห็นได้ว่ามีอาการแห้งที่ปลายใบหรือใบไหม้ครึ่งใบเมื่ออากาศแห้ง)เพราะรากแห้งขาดน้ำหรือร้อนเพราะแสงแดดการมีหน้าดินที่ตื้นรากจะไม่ลงลึกการแผ่ในแนวนะนาบจะทำได้ยากเพราะพื้นที่มีจำกัด

ระยะการปลูกทุเรียน

  • ระยะปลูกที่เหมาะสม 12 x 12 เมตร สำหรับเขตที่มีฝนมากว่า 6 เดือนต่อปี ซึ่งฝนมากการแผ่ของกิ่งจะออกไปยาวแต่ถ้าปลูกใกล้กันมากต้นจะสูงติดผลปลายยอด ปลายกิ่งก็จะมากหรือการทำดอกก็จะยากติดผลไม่มากพอ
  • ระยะปลูก 10×12 เมตร สำหรับเขตที่มีฝน 6 เดือนต่อปีมีจังหวะที่แล้งติดต่อกันมากกว่า 30วัน
  • ระยะปลูก 10×10 เมตร สำหรับเขตที่มีฝน 4 เดือนต่อปีมีจังหวะที่แล้งติดต่อกันมากกว่า 3 เดือน เพราะฝนน้อยการแผ่กิ่งจะห่างจากโคนไม่ถึง 5 เมตร เพราะชายพุ่มจะถูกจำกัดและเพราะน้ำน้อยมากรากจะตายมากกว่าเกิดจึงมีรากเฉพาะที่ใกล้โคน
  • ระยะปลูกที่ใกล้กันน้อยกว่า 10 เมตร ต้องมีการจัดการทรงพุ่มคุมความสูงของยอดหรือมีการแต่งกิ่งเพื่อลดทอนความสูงหนักๆทุกปี การทำใบต้องเป็นชุด การฟื้นต้นสะสมหลังแต่งกิ่งต้องมากอีกทั้งต้องรักษาใบไม่ให้ถูกบดบังจากสาหร่ายสนิมหรือการทำลายของไรแดงที่จะส่งผลให้ใบร่วงง่าย ซึ่งการมีพุ่มที่ชนกันจะทำให้เกิดโรค เชื้อรา ไร ตะไคร้น้ำขึ้นต้นเปลือกต้นจะชื้นและมักถูกหนอนชอนเปลือกมากเพราะเปลือกต้นจะชื้นในฤดูฝนส่งผลให้การทำดอกก็จะยากเพราะดินไม่ขาดน้ำตอนทำดอก

คำแนะนำ

  • ใช้ ฟลูเฮ้าส์ หรือ ใช้ โมสาท ชาร์จ ไปกับระบบน้ำที่อัตรา 1 ลิตรต่อ 5 ไร่ (ช่วยในการระบายน้ำ ลดความเค็มของดิน)

2. การเตรียมหน้าดินกับทุเรียนต้นเล็ก

ทุเรียนเพาะชำเสียบยอดสำเร็จอยู่ในถุงเพาะ เมื่อทำการย้ายมาปลูกในแปลงที่มีการไถพลิกหน้าดินหรือมีการถ่ายหน้าดินจากแหล่งดีก็ตามจะทำให้สารอินทรีย์วัตถุในดินสูญหายเพราะมีกาเปลี่ยนแปลงทางกายภาพอย่างรุนแรงทำให้สภาพแวดล้อมไม่เป็นมิตรกับรากทุเรียนที่พึ่งลงปลูก” การเพิ่มหน้าดินด้วย ซากวัชพืช มูลสัตว์ และปุ๋ยอินทรีย์ทำได้เพียง 1 เซนติเมตรต่อปีและลงได้ไม่ลึกพออีกทั้งทำไม่ได้ในฤดูฝนเพราะจะทำให้รากเน่าง่ายจึงไม่ทันกับความต้องการของทุเรียนในปีแรกซึ่งการใช้ ฟลูเฮ้าส์ จะช่วยให้ได้หน้าดินที่เร็วและลึกกว่าทำให้สภาพดินใหม่มีหน้าดินที่มากพอที่จะสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีสำหรับรากทุเรียนเล็กได้ รากใหม่ของทุเรียนต้องมีการระบายน้ำที่ดีลดความเค็มของดินใหม่ มีช่องอากาศเพียงพอจะทำให้รากตายน้อยและมีนากเกิดใหม่มากขึ้น จากสภาพที่ต้นทุเรียนยังเล็ก มีนากน้อย ใบน้อย การสร้างใบจะร็วกว่ารากเพราะปุ๋ยไนโตรเจน ใบใหญ่แต่บาง มีความเชียวน้อย อาจเกิดใบด่าง ใบลาย ใบซีดขาว เพราะรากยังทำงานได้ไม่ดีพอ มีจำนวนใบน้อย ทำให้ถ่ายเทธาตุอาหารสำรองไปใบอ่อนไม่เพียงพอใบอ่อนมีเวลาที่จำกัดในการสร้างเนื้อใบและความเขียว เนื่องจากระยะใบอ่อนจนแก่เพียงแค่ 60 วันจากใบที่คลี่กางเต็มใบในเวลาที่จำกัดเช่นนี้การมีใบอ่อนมากกว่าใบแก่เดิมรากจะดูดธาตุอาหารไม่เพียงพอที่จะใช้ในการสร้างสีเขียว

ขนาดของต้นกล้าทุเรียนที่จะใช้ปลูก ยิ่งมีต้นใหญ่ใบหลายชุดดีกว่าต้นเล็กใบชุดเดียว ซึ่งมักจะตายง่ายในสภาพแปลงที่มีหญ้าขึ้นมาก

อาการถอดใบ คือ ใบเก่าร่วงจนเหลือน้อยกว่าใบอ่อนใหม่ กิ่งตาย ต้นตายมี่ต้องซ่อมมาก การโตในระยะ 1-2 ปี จึงยากแต่ก็สำคัญมากในการปลูกทุเรียน

คำแนะนะ

  • ทางดิน ใส่ยูท่า + ฟลูเฮ้าส์ ต้นละ 4 จุด จุดละ 1 ช้อนแกง

3. การดูแลทุเรียน อายุ 1-2 ปี + การฝึกทำใบ

ทุเรียนที่ปลูกใหม่ การสร้างราก สร้างใบจะยังไม่พร้อมกันทั้งสวนเพราะแต่ละต้นมีกำลังไม่เท่ากัน ประกอบกับสภาพปัจจัยที่ไม่สม่ำเสมอ เช่น เนื้อดิน การระบายน้ำระบายอากาศที่ไม่ดีเพราะหน้าดินมีน้อย สร้างหน้าดินไม่ทันกับรากใหม่ที่เกิดขึ้น

การยกโคนสูง เพื่อการปลูกทุเรียนหนีจาก โรครากเนา โคนเน่าเพราะน้ำแช่ราก และเพื่อวางแผนทำดอกได้ง่ายเมื่อต้นอายุได้ 5 ปีพร้อมที่จะทำดอก ติดผล

ปัญหาในระยะต้นเล็กคือสภาพหน้าดินที่น้อยทำให้รากตายมากกว่าเกิดใบจึงมีอาการแห้งที่ปลายใบและเกิดใบร่วงมากอายุใบสั้นกว่าที่ควรจะเป็นทำให้การโตของกิ่งและต้นไม่ดีพอการทำใบให้เป็นชุดพร้อมๆกันในต้นและทั้งแปลงจะทำให้ต้นทุเรียนโตได้ดีกว่าสามารคุมการระบาดของแมลงได้มีประสิทธิภาพในช่วงระยะใบอ่อน เช่น เพลี้ยไฟ เพลี้ยไก่แจ้ เพื่อได้ใบที่มีขนาดปกติ ในระยะใบอ่อนก็ต้องฉีดยาถี่ประมาณ 10วันต่อครั้ง ถ้ามีใบแก่ก็สามารถดึงการฉีดยาห่างเป็น 15 วัน ก็จะสามารถจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ยกตัวอย่างการจัดยาฉีด

  • ทางใบ ฉีดพ่นแมมมอท ฟองดู อัตราการใช้ 20 ซีซี. + แมมมอท คอมบิ อัตราการใช้ 20 ซีซี. + ไพเรท็อกซ่า อัตราการใช้ 20 ซีซี. + ราดาซิม อัตราการใช้ท20 ซีซี. ฉีดพ่นให้ทั่วทั้งต้น 2ครั้ง ห่างกัน 10วัน
  • ทางดิน ใส่ฟลูเฮ้าส์ อัตราการใช้ 4 ช้อนแกงต่อต้น + ยูท่า 10 อัตราการใช้ 4 ช้อนแกงต่อต้น(ใส่ปุ๋ยทางดินเป็นสูตร 16-16-16)
  • แมมมเทชูการ์ เอ็กเพรส อัตราการใช้ 20 ซีซี. + แมมมอท แคลเซียม แม็กนีเซียม อัตราการใช้ 20 ซีซี. + ไพเรท็อกซ่า อัตราการใช้ 20 ซีซี. + นอร์ด็อกซ์ อัตราการใช้ 10 กรัม ฉีดพ่นให้ทั่วทั้งต้น 2 ครั้ง ห่างกัน 15วัน
  • แมมมอท สุกรีม(0-28-18)อัตราการใช้ 20 ซีซี. + แมมมอท แคลเซียม แม็กนีเซียม อัตราการใช้ 20 ซีซี. + ไพเรท็อกซ่า อัตราการใช้ 20 ซีซี. + นอร์ด็อกซ์ อัตราการใช้ 10 กรัม ฉีดพ่นให้ทั่วทั้งต้น 2ครั้งห่างกัน 15วัน

การทำใบแบบขั้นตอนที่ 1 จะได้ใบชุดที่ 2 และ 3 วัชพืชทำแค่คุมความสูงถ้าสวนมีหญ้าสูงจะมีการทำลายของแมลงปีกแข็ง เช่น แมลงค่อมทอง และด้วงกุหลาบ ควรทำการล้างต้นด้วยชุดล้างต้นทุกๆ 3 เดือน เพื่อป้องกันการวางไข่หรือทำลายของหนอนด้วงหนวดยาว ด้วงหนวดยวตัวแม่จะว่างไข่มากในเดือนมีนาคม มิถุนายนและพฤศจิกายน ถ้าหนอนด้วงหนวดยาวทำลายจะทำให้กิ่งเล็กหักหรือเจาะเปลือกทำลายโคนต้น

4. ทุเรียนอายุ 3-5 ปี สำคัญที่การแต่งกิ่ง

การแต่งกิ่งที่ถูกและเหมาะสมในระยะนี้ทำให้เราสามารถวางแผนการไว้ดอกติดผลได้ดี

กิ่งที่ดีคือกิ่งที่ทำมุมฉากกับต้นซึ่งหากไม่ทำกานแต่งกิ่งเลยกิ่งที่ทำมุมแหลมแข่งกับการโตของยอดจะเบียดกิ่งดีตายไปทำให้ดอกติดช้าต้นจะไม่แข็งแรงเพราะกิ่งเบียดไปบังแสงทำให้การสังเคราะห์แสงไม่ดีสร้างน้ำตาลไปเลี้ยงรากได้ไม่พอทำให้รากตาย ใบร่วง ใบอ่อนแตกน้อยไม่เป็นชุดจึงมักเกิดโรครากเน่าโคนเน่า เชื้อไฟท็อปจะเข้าทำลายมากเมื่อรากอ่อนแอ ดินเป็นกรด มีน้ำแข่ขังรากจนเน่า เพราะเชื้อไฟท็อปเพิ่มจำนวนทำลายได้มากและไปกับน้ำได้ดี

เวลาที่เหมาะในการแต่งกิ่ง คือ ช่วงปลายฤดูแล้งเข้าฤดูฝน(ปลายเดือนเมษายนและพฤษภาคม) หลังแต่งกิ่งเสร็จควรใช้ชุดล้างต้นเพื่อกำจัดแมลงและโรคที่สะสมในต้นแล้วจึงสร้างใบชุดที่ 1 2 3

คำแนะนำ

  • ปรับสภาพดินด้วย เปอร์ก้า และ ฟลูเฮ้าส์ (ทำให้รากฟื้นตัวได้ดี ลดการระบาดเชื้อไฟท๊อป)
  • ชุดล้างต้น นอร์ด็อกซ์ อัตราการใช้ 10 กรัม + เซฯน่า อัตราการใช้ 10 กรัม + ไฮบริด เอสบี อัตราการใช้ 10 ซีซี.
  • ทางดิน เปอร์ก้า + ยูท่า 10 + ฟลูเฮ้าส์ (ทำให้ใบดีทุกช่วงใบ)

*นอร์ด็อกซ์ เปรียบเสมือน ยาแดงสมานแผลรักษาแผลและป้องกันการติดเชื้อต่างๆที่จะเข้าทำลายจากบาดแผลได้

5. การจัดการน้ำสำหรับทุเรียนต้นเล็ก

ทุเรียนต้องการน้ำที่สม่ำเสมอและเพียงพอตอนมีใบอ่อน เพราะในระยะใบอ่อนนั้นต้องการธาตุอาหารจากดิน ด้วยการเคลื่อนย้ายจากรากสู้ดินด้วยน้ำจึงควรมีการให้น้ำอย่างเพียงพอในระยะนี้ ต้นใหม่ที่พึ่งปลูกมักจะแพ้แดด ใบห่อแดดเผาไหม้เนื่องจากต้นมีใบอ่อนมากและกระจัดกระจายไม่เป็นชุด แต่หากทำใบเป็นชุดได้การให้น้ำก็จะเป็นระบบมากขึ้นใบก็จะดีไม่เสีย ไม่แพ้แดด

นอกจากการให้น้ำในฤดูแล้งจะสำคัญแล้ว การระบายน้ำในฤดูฝนก็สำคัญเช่นกัน เพราะถ้ารากทุเรียนโดนแช่น้ำนานๆจะทำให้รากเน่า สภาพดินเน่า ก็จะทำให้รากตายได้ง่ายรวมถึงโรคไฟท็อปจะแพร่กระจายได้ดีอีกด้วย การทำทางระบายน้ำจึงสำคัญโดยให้มีจุดรวมน้ำเพื่อให้ไหลออกจากโคนได้เร็วด้วยการทำร่องระบายน้ำให้ต่ำกว่าโคนต้น 1-2 เมตรจะเป็นการเร่งระบายน้ำออกจากโคนด้วยความเร็ว 10-20 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

คำแนะนำ

  • ทางดิน เปอร์ก้า + ฟลูเฮ้าส์ + ยูท่า 10 (เพื่อปรับสภาพดินให้ดีขึ้นช่วยการระบายน้ำเพื่มช่องอากาศในจุดที่มีน้ำขังเพราะจุดนั้นจะทำให้ดินเริ่มหมักบูด)