ส่งความห่วงใย..จากใจ สู่อำเภอฝาง
คุณอนุเทพ ฟองสมุทร ผู้บริหารบริษัทเทพวัฒนา จำกัด ร่วมกับ คุณวิภา จงสุวรรณวัฒนา ร้านแม่ข่ามิตรเกษตร เป็นตัวแทนมอบเงินสมทบทุนเพื่อประโยชน์ในการสร้างห้องผู้ป่วย และเข้าเยี่ยมชมอาคารผู้ป่วย ณ โรงพยาบาลฝาง
คุณอนุเทพ ฟองสมุทร ผู้บริหารบริษัทเทพวัฒนา จำกัด ร่วมกับ คุณวิภา จงสุวรรณวัฒนา ร้านแม่ข่ามิตรเกษตร เป็นตัวแทนมอบเงินสมทบทุนเพื่อประโยชน์ในการสร้างห้องผู้ป่วย และเข้าเยี่ยมชมอาคารผู้ป่วย ณ โรงพยาบาลฝาง
ตัวหนอนและตัวเต็มวัยจะเจาะเข้าไปกินในลำต้นและกิ่งของทุเรียนส่วนมากพบการเข้าทำลายบริเวณโคนต้นและกิ่งทุเรียนที่เป็นโรครากเน่า โคนเน่า ต้นทุเรียนที่ถูกทำลายจะสังเกตุเห็นรูพรุนตามโคนต้นและที่ปากรูจะมีมูลของหนอนเป็นขุยละเอียดอยู่ทั่วไปรอยเจาะของมอดเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรครากเน่า โคนเน่า
ตัวเต็มวัยเป็นด้วงหนวดยาวชนิดหนึ่ง หนอนที่ฝักออกมาใหม่จะมีสีขาวครีม เริ่มกัดกินชอนไชอยู่ใต้เปลือกไม้และถ่ายมูลออกมาเป็นขุยไม้ติดอยู่ภายนอกเป็นระยะๆหนอนที่โตเต็มที่มีขนาดยาว 8-10 เซนติเมตร มีรยะหนอน 280 วัน
เป็นแมลงจำพวกด้วงปีกแข็ง ตัวเต็มวัยเป็นด้วงวงมีหลายสี เช่น เหลือง เทา ดำ หรือเขียวปนเหลือง มีปากกัดกินเป็นงวงยื่นเห็นได้ชัด แมลงค่อมทองกัดกินใบและยอดอ่อนทำให้ใบเสียหายและชะงักการเจริญเติบโตตัวเต็มวัยอยู่ร่วมกันเป็นกลุุ่มๆชอบอาศัยอยู่ใต้ใบเมื่อถูกรบกวนหรือถูกกระทบกระเทือนจะทิ้งตัวลงสู่พื้นดิน
ตัวเต็มวัยวางไข่ไว้บนผลทุเรียนใกล้ๆกับขั้วผล เมื่อผลทุเรียนอายุ 6 สัปดาห์จนถึงระยะเก็บเกี่ยวเมื่อหนอนฝักเป็นตัวก็จะเจาะไชเข้าไปกัดกินเมล็ดทุเรียนและถ่ายมูลออกมาทำให้เนื้อทุเรียนเปรอะเปื้อนเสียหาย
ตัวหนอนจะกินอยู่ที่ผิวเปลือกทุเรียนตั้แต่ผลทุเรียนอายุ 2 เดือนจนถึงผลใหญ่บริเวณที่ผลทุเรียนติดกันมักพบหนอนกินอยู่บริเวณนั้นหรือเจาะกินอยู่ในผลใกล้กับขั้วผลแต่จะไม่เจาะกินถึงเมล็ด ทำให้ผลเน่าและโดนเชื้อราเข้าทำลายซ้ำ ผลมีตำหนิและไม่ได้ราคาเมื่อนำไปจำหน่าย
เพลี้ยแป้ง ทำความเสียหายให้กับทุเรียนโดยสามารถดูดกินน้ำเลี้ยงได้หมดทุกส่วน โดยเฉพาะที่ผลจะแคะแกรนไม่ขยายใหญ่ เพลี้ยแป้งที่ดูดกินน้ำเลี้ยงยังถ่ายมูลน้ำหวานทิ้งไว้เป็นอาหารของหมดโดยมดเหล่านี้จะนำพาเพลี้ยแป้งขึ้นมาที่ผลแล้วเกิดราดำขึ้นมาทำให้ผลมีคราบสีดำแลดูสกปรก
ในทุเรียนพบเพลี้ยไฟหลากหลายชนิดตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงที่ยอดอ่อน ช่อดอก และผลอ่อน ใบที่ถูกทำลายพบรอยไหม้ และหงิกงอ ส่วนดอกจะเกิดเป็นแผลสีเทาเงินเกือบดำทำให้ดอกที่ไม่สมบูรณ์ไม่ติดผลและร่วงไปในที่สุด หากเข้าทำลายในระยะดอกบานหรือผลอ่อนจะทำให้เกิดแผล
ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงที่ใบทั้งหน้าใบและหลังใบของทุเรียนทำให้ใบมีสีเขียวซีดลง ผิวใต้ใบมีคราบของไรแดงคล้ายฝุ่นผงและใบร่วงไปในที่สุด มีผลกระทบต่อการออกดอกติดผลของทุเรียน ไรแงระบาด
เชื้อราสาเหตุที่พักตัวอยู่ในดินจะเริ่มเข้าทำลายใบที่อยู่ใกล้ผิวดินก่อน และแพร่ระบาดโดยลมและฝนไปยังใบและกิ่งข้างเคียงระบาดมากในช่วงฤดูฝนและสวนที่รกทึบไม่มีการตัดแต่งกิ่งใบที่ถูกทำลายอาจมีอาการใบไหม้ แห้ง และยึดติดกันด้วยเส้นใยของเชื้อรา
เชื้อสาเหตุ : เชื้อรา Colletotrichum spp. เชื้อราส
ในสวนที่รกทึบมีความชื้นสูงและขาดการบำรุงรักษาจะมีสาหร่ายขึ้นปกคลุมเนื้อใบมองเห็นเป็นสีสนิม สาหร่ายดูดกินน้ำเลี้ยงใบพืชและลดการสังเคราะห์แสงทำให้ต้นพืชทรุดโทรมผลผลิตและคุณภาพต่ำลงพบการระบาดได้ทุกฤดูแต่มักพบการระบาดรุนแรงในบริเวณที่มีความชื้นสูง